top of page

It's Personal

 

We will work with you to

create a menu that fits your
taste, budget and style

                                                              

                                                     ประวัติความเป็นมาของขนมไทย


" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหากสำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกันอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" ในภาษาเขมรก็เป็นได้ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ

          หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับบางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้นคงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึงขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไลในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไรขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ

       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรมขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เองแม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วยขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้วขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา


http://www.isaansmile.com/kahnomthai/prawat.php

 

                สูตรขนมหวานไทย : ฝอยทอง

* ไข่เป็ด 5 ฟอง

* ไข่ไก่ 5 ฟอง

* น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง

* น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า)

* ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน)

* น้ำมันพืช 1 ช้อนชา

* กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ)

* ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ)

 

Redefining Food & Event Production

                สูตรขนมหวานไทย : ทองหยอด

* ไข่เป็ด 18 ฟอง

* แป้งทองหยอด 1 ถ้วยตวง (หรือแป้งข้าวเจ้า)

* น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง

* น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วยตวง

 วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ผสมน้ำลอยดอกไม้กับน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลือง แล้วนำไปตั้งไฟแรงให้เดือด เคี่ยวทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นจึงแบ่งน้ำเชื่อมส่วนหนึ่งออกมาสำหรับแช่ทองหยอดที่สุกแล้ว

2. ต่อยไข่ แยกไข่ขาวออก ใช้เฉพาะไข่แดง โดยนำไข่แดงไปกรองในผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก จากนั้นจึงตีไข่แดงให้ขึ้นฟู จากนั้นค่อยๆผสม แป้งทองหยอดลงไปและคนให้แป้งและไข่แดงเข้ากัน

3. นำไข่แดงที่ผสมแป้งเรียบร้อยไปหยอดในน้ำเชื่อม สำหรับวิธีหยอดนั้นให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หยิบส่วนผสมมาเป็นลูกขนาดพอประมาณ แล้วจึงสบัดลงไปในน้ำเชื่อม ทำเช่นนี้จนเต็มกระทะทองเหลือง จากนั้นรอจนทองหยอดสุกจึงตักออกมาพักใส่ในน้ำเชื่อมที่แยกไว้ก่อนหน้านี้ (ทองหยอดที่สุกจะลอยขึ้น)

4. จัดทองหยอดใส่จานเสริฟเป็นของว่างหรือของทานเล่นในวันพักผ่อนสบายๆ

 

 

 



                                              ….ขนมจ่ามงกุฏ….


ส่วนผสม

เม็ดแตงโมแกะแล้ว 1/2 ถ้วยนํ้าตาลทราย 1/2 ถ้วยนํ้าดอกมะลิ 1 ถ้วยทองคำ เปลวแท้ 2 แผ่นแป้งสาลี 1 ถ้วยไข่แดงของไข่ไก่ 3 ฟอง

 

วิธีทำ

1. เชื่อมนํ้าตาล โดยใช้นํ้าตาลกับนํ้าดอกมะลิตั้งไฟให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วตั้งไฟต่ออีก 5 นาที

2. ล้างขัดกะทะทองเหลืองให้สะอาดเป็นเงา ตะแคงข้างหนึ่ง คั่วเม็ดแตงโม โดยใช้มือจุ่มลงในนํ้าเชื่อม แล้วกวาดไปมา จนน้ำ ตาลแห้งแล้ว ใช้มื่อจุม่ น้ำ เชื่อม ทำ เช่นนี้ต่อไปจน น้ำ ตาลเกาะเป็นหนามติดเม็ดแตงโมพองาม เก็บใส่ภาชนะ อย่าให้อากาศเข้า

3. ระหว่างที่กวาดเม็ดแตงโมอยู่นั้น ต้องตะแคงกะทะและใช้ ผ้าขาวบาง เช็ดกะทะให้สะอาดอยู่เสมอ

4. นวดแป้งกับไข่แดงจนนิ่มมือ ถ้ายังแห้งอยู่จึงเติมนํ้า แล้ว คลึงแป้งเป็นแผ่นบาง ๆ กดให้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร นำ แผ่นแป้งที่ตัดแล้ว ใส่ในถ้วยตะไลใช้มือ กดเบา ๆ ให้เป็นรูปก้นถ้วยตะไล ใช้ส้อมจิ้มให้ทั่วจึงเอาไป อบพอสุกกลายเป็นแป้งรองขนม

5. การทำ มงกุฏ ให้เอานํ้าตาลทรายใส่หม้อเล็ก ๆ ใส่นํ้านิด หน่อย ตั้งไฟอ่อน ๆ พอนํ้าตาลละลายเอาเม็ดแตงโมที่ กวาดไว้แล้วลงจุ่มให้นํ้าตาลติดกับแป้งที่อบไว้รอบ ๆ

6. ปั้นทองเอกกลม ๆ วางตรงกลาง ใช้มีดปลายแหลมผ่าเป็น 6 พู เหมือนผลมะยม แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ เท่าเม็ดถั่วเขียว วางบนยอดขนมที่ผ่าไว้ใช้ทองคำ เปลวตัดเป็นสี่เหลี่ยมชิ้น เล็ก ๆแตะตรงยอดมองเห็นเหมือนมงกุฏกลเม็ดเคล็ดลับ การทำแป้งรองขนมจ่ามงกุฏนั้นบางครั้งก็ต้องเติมนํ้าและบาง ครั้ง ก็ไม่ต้องเติม ทั้งนี้ แล้วแต่นํ้าในไข่ที่ใช้นั่นเองทองคำ เปลว ต้องแน่ใจว่าเป็นของแท้ เพราะถ้าเป็นของปลอม จะเป็นอันตรายมาก เนื่องจากสารตะกั่ว

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ต่อยไข่ไก่และไข่เป็ด เลือกเอาเฉพาะไข่แดง นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก

2. ผสมไข่แดง, ไข่น้ำค้างและน้ำมันพืชเข้าด้วยกัน คนจนผสมกันทั่ว

3. นำน้ำลอยดอกมะลิผสมกับน้ำตาลในกระทะทองเหลืองและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือด

4. นำส่วนผสมไข่แดงใส่ลงไปในกรวยและนำไปโรยในน้ำเชื่อมที่เดือด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีจนไข่สุกจึงใช้ไม้แหลม สอยขึ้นและพับให้เป็นแพตามต้องการ

5. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างทางเล่นในวันสบายๆ

 

 

http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_golden_threads_foy_thong_th.html


 

                                 ขนมชั้น

 

* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง

* แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง

* น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง

* กะทิ 6 ถ้วยตวง

* น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ  (หรือน้ำใบเตยคั้นสด,

   หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน

2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน

​​Wow Thai Sweet

 My way to do

WELCOME

 Noon & Ao
bottom of page